....ป้อมค่ะ....ยินดีต้อนรับคนสวย-คนหล่อ ทุกๆท่านที่มาเข้าชมบล็อกของป้อมน่ะค่ะ....

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

แผนการสอน

CPSC 213
โครงสร้างคอมพิวเตอร์ และภาษาแอสเซมบลี้

(Computer Organization and Assembly Language)
ระบบตัวเลขที่ใช้แทนข้อมูลและคำสั่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ โครงสร้างระบบและภาษาเครื่อง หน่วยประมวลผลและหน่วยความจำ แบบจำลองของเครื่อง โปรแกรมภาษาแอสเซมบลี้ การทำงานกับโปรแกรมควบคุมระบบ อุปกรณ์ตรรกโปรซีเตอร์สำหรับอ่าน/เขียนข้อมูล ระบบแฟ้มข้อมูลเบื้องต้น การใช้บัฟเฟอร์หลายอัน รูปแบบและชนิดของคำสั่ง ภาษาแมคโครแอสเซมบลี้ การเชื่อมโยงส่วนจำเพาะ (Module linking) พื้นฐานของโปรแกรมควบคุมระบบ เช่น การจัดจังหวะประสาน มัลติโปรแกรมมิ่ง เทคนิคหน่วยความจำเสมือน

จุดประสงค์รายวิชา
เข้าใจระบบตัวเลขที่ใช้แทนข้อมูล และคำสั่งในเครื่องคอมพิวเตอร์
เข้าใจโครงสร้างระบบ และภาษาเครื่อง
เข้าใจหน่วยประมวลผล และหน่วยความจำ แบบจำลองของเครื่อง
เข้าใจโปรแกรมภาษาแอสเซมบลี้ การทำงานกับโปรแกรมควบคุมระบบ
เข้าใจอุปกรณ์ตรรกโปรซีเดอร์สำหรับอ่าน/เขียนข้อมูล
เข้าใจระบบแฟ้มข้อมูลเบื้องต้น
เข้าใจการใช้บัฟเฟอร์หลายอัน
เข้าใจรูปแบบ และชนิดของคำสั่งภาษาแมคโครแอสเซมบลี้
เข้าใจการเชื่อมโยงส่วนจำเพาะ (Module linking)
เข้าใจพื้นฐานของโปรแกรมควบคุมระบบ

แผนการสอน (Lesson Plan)
ความเป็นมาของหน่วยประมวล และหน่วยความจำในยุคต่าง ๆ
ไมโครโปรเซสเซอร์ 8088, 8086 (ยุค XT)
ไมโครโปรเซสเซอร์ 80286, 80386, 80486 (ยุค AT)
ไมโครโปรเซสเซอร์ Pentium, 80586 ..
โครงสร้าง หรือส่วนประกอบระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยความจำ
หน่วยคำนวณ
หน่วยควบคุม
หน่วยแสดงผล
หน่วยรับข้อมูล
ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
DOS
Windows
Linux
คำสั่งในเครื่องคอมพิวเตอร์
คำสั่งภายใน
คำสั่งภายนอก
ระบบเลขที่ใช้แทนข้อมูล
ระบบเลขฐาน 10, 2, 16 และอื่น ๆ
การบวก-ลบ เลขฐาน
ระบบแฟ้มข้อมูลเบื้องต้น
Bit
Byte or character
Field
Record
File


สอบกลางภาค
การกระทำทางตรรกศาสตร์
and, nand, or, nor, xor
shift left, shift right, rotate, complement
Register และ Interrupt ของ DOS
การใช้โปรแกรม debug เบื้องต้น
การเรียกแฟ้มเดิมมาแก้ไข
การสร้างโปรแกรม หรือแฟ้มใหม่
การดูโปรแกรม .com ในรูปภาษา assembly
การเขียนโปรแกรม assembly ด้วย debug
การเขียน Batch file เบื้องต้น
การใช้ Batch file ร่วมกับโปรแกรมที่พัฒนาด้วย debug
สร้างโปรแกรม backup
สร้างโปรแกรม menu
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา assembly ด้วย Macro assember
พื้นฐานของโปรแกรมควบคุมระบบ
การเชื่อมโยงส่วนจำเพาะ (Module linking)

สอบปลายภาค
การประเมินผลการเรียน
คะแนนรวม
100 คะแนน
จิตพิสัยกลาง
10 คะแนน
โครงงานประจำวิชา
10 คะแนน
การฝึกภาคปฏิบัติ
20 คะแนน
สอบกลางภาค
15 คะแนน
สอบปลายภาค
45 คะแนน

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

ตอบคำถาม

1.มัลติมีเดียมีความสำคัญอย่างไรกับการเรียนการสอน?
-มัลติมีเดีย มีการใช้สื่อมากกว่า 1 สื่อร่วมกันนำเสนอข้อมูลข่าวสาร โดยมีจุดมุ่งหมายให้ ผู้รับสื่อสามารถรับรู้ข่าวสารได้มากกว่า 1 ช่องทาง โดยผ่านการควบคุมการใช้ และโต้ตอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครือข่าย ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบของมัลติมีเดียให้สอดคล้องกับปรัชญาการ เรียนรู้มากขึ้น สื่อประเภทนี้ไม่ได้เป็นเพียงรูปแบบของบทเรียนแบบโปรแกรม ที่ให้เพียงเนื้อหา คำถาม และคำตอบ แต่ได้รับการออกแบบให้เปิดกว้างสำหรับ การสำรวจกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดค้น สืบค้นมากขึ้น

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

นางสาววรรณิศา ศรีเคลือบ
514110012 เอกสังคมศึกษา
1.สื่อการสอนมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนอย่างไร
ตอบ เป็นตัวกลางที่จะช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้ จากครูผู้สอน หรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เป็นสิ่งช่วยอธิบาย และขยายเนื้อหาบทเรียน ให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนที่ตั้งไว้
2.สื่อการสอนสามารถจำแนกได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ จำแนกประเภทของสื่อการสอนเป็น 3 ประเภทดังนี้ -1. อุปกรณ์ (Hardware) -2. วัสดุ (Software)-3. เทคนิคและวิธีการ (Technique and Method)
3.เอดการ์ เดล ใช้อะไร ? เป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของสื่อการสอน
ตอบ โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น โดยยึดถือเอาความเป็นนามธรรมและรูปธรรมเป็นหลักในการจัดแบ่งประเภท เขาถือว่าประสบการณ์ที่นักเรียนกระทำตรงโดยมีจุดมุ่งหมายนั้น เป็นประสบการณ์ที่มีความเป็นรูปธรรมมากที่สุด ส่วนประสบการณ์ที่ได้จากสื่อประเภทอื่น ๆ นั้นมีความเป็นรูปธรรมลดน้อยไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีความเป็นนามธรรมมากที่สุดคือ ประสบการณ์จากสื่อการสอนประเภทวจนสัญลักษณ์ เดลได้เขียนให้เห็นความเกี่ยวพันของประสบการณ์จากสื่อต่าง ๆ เอาไว้ด้วย เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)
4.ให้บอกคุณค่าทั่วไปของสื่อการสอนมา 5 อย่าง
ตอบ -1.1 ทำสิ่งซับซ้อนให้ดูง่ายขึ้น
-1.2 ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
-1.3 ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
-1.4 ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงช้าให้ดูเร็วขึ้น
-1.5 ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้เล็กเหมาะแก่การศึกษา
5.ขั้นตอนในการใช้สื่ออย่างเป็นระบบมีอะไรบ้าง
ตอบ Analyze Learner Characteristics การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนState Objectives การกำหนดวัตถุประสงค์Select, Modify, or Design Materials การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อใหม่ Utilize Materials การใช้สื่อRequire Learner Response การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียนEvaluation การประเมิน
6.ท่านมีวิธีการเลือกสื่อมาใช้กับการเรียนการสอนอย่างไร
ตอบ การใช้สื่อการสอนจะมุ่งเน้นทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้นการศึกษาหลักการเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สอนเพื่อเป็นแนวทางให้สามารถเลือกใช้เทคนิคได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกัลป์ปบหลักการอื่นๆในการจัดการเรียนการสอนอย่างแท้จริง
7.วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ตอบ 2.3.1 พุทธิพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ สติปัญญา และพัฒนาการ
2.3.2 จิตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยม และการเสริมสร้างทางปัญญา
2.3.3 ทักษะพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทำ การแสดงออก
8.ท่านคิดว่าสื่อการสอนเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนอย่างไร
ตอบ ช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้สอน โดยบางครั้งอาจให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาเองจากสื่อได้ ในการใช้สื่อการสอน หากผู้สอนได้มีการวางแผนอย่างเป็นระบบก็จะช่วยให้การใช้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
9.การได้ทราบประเภท และคุณสมบัติของสื่อ ช่วยท่านในการเลือกผลิตและใช้สื่ออย่างไร ตอบ การผลิตและการเลือกใช้สื่อควรเลือกให้ตรงตามเนื้อหาที่จะใช้สอนให้เหมาะสมกับเพศและวัยที่ศึกษา และควรมีจุดประสงค์ที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน
10.ปัจจุบันสื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทกับการศึกษาทุกระดับ ท่านมีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร
ตอบ ปัจจุบันนี้การเรียนการสอนส่วนใหญ่จะใช้สื่อที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์เพราะผู้สอนใช้อย่างสะดวกสบาย และทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ชื่อ นางสาววรรณิศา ศรีเคลือบ
รหัส 514110012
โปรแกรมวิชา สังคมศึกษา
คำถามทบทวน
1. การสื่อสารมีความสำคัญกับการเรียนรู้อย่างไร
-การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาที่มนุษย์ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญกับการเรียนรู้ เพราะจะทำให้ผู้สื่อสารทั้ง 2 ฝ่ายเข้าใจได้ตรงกัน
2. องค์ประกอบของการสื่อสาร มีอะไรบ้าง
-องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประกอบด้วย
1. ผู้ส่งสาร (Source) คือ ผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว ความรู้ ความคิด ตลอดจนเหตุการณ์
ต่างๆเพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เช่น ผู้อ่าน ข่าว ครู สถาบันการศึกษา เป็นต้น
2. เรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เพื่อให้ผู้รับรับ
ข้อมูลเหล่านั้น เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น
3. สื่อ (Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ เหตุการณ์ต่างๆที่ผู้
ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้มากก็คือ ภาษาพุด ภาษาเขียน
4. ผู้รับสาร (Receiver ) ได้แก่ ผู้ที่รับเนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งมา ผู้รับ
นี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เมื่อรับเรื่องราวแล้วผู้รับต้องมี การแปลข่าวสารนั้นให้เข้าใจ เหตุการณ์

3. จงเขียนแผนผังของกระบวนการสื่อสาร

-ผู้ส่งสาร ---- การเข้ารหัส ----สัญญาณ ---- การถอดรหัส ---- ผู้รับสาร

4. ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น ทำไมครูจึงควรใช้รูปแบบการสื่อสาร 2 ทาง คนเราสามารถรับรู้ทางใดมากที่สุด ในปริมาณเท่าไร
-เพราะจะได้ทำให้รู้ว่าสิ่งที่สอนไปนั้นผู้เรียนเข้าใจหรือไม่ มากน้อยเพียงใดและควรปรับปรุงตรงส่วนใดที่ผู้เรียนไม่เข้าใจ คนเราสามารถรับรู้ทางตาได้มากที่สุด ในปริมาณ 75 เปอร์เซนต์

5. องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนรู้มีอะไรบ้าง

-องค์ประกอบของการเรียนรู้

การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการ (สมศักดิ์ เจียมทะวงษ์. 2519 : 20-26) คือ
1. แรงจูงใจ (Motive) คนเราจะเรียนรู้ได้ดีหากเขามีแรงจูงใจสูงในบทเรียน ที่เขาจะเรียน
เช่น เรื่องนั้นแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น หรือตรงความต้องการของเขา
2. กระบวนการสอน (Teaching procedure) แม้ว่าผู้เรียนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนเพียงใด แต่ถ้ากระบวนการสอนของครูไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพได้
3. กระบวนการเรียน (Studying Procedure) การเรียนรู้ของคนเรานั้น เกิดจากการที่
ประสาทสัมผัส (Sense) ได้รับการเร้าจากสิ่งเร้า (Stimulus) บุคคลจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเร้านั้นได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการเรียนของเขานั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งเร้าโดยตรงมากน้อยเพียงใดด้วย ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้เรียนจากกระบวนการเรียนที่ตนเองได้มีโอกาสสัมผัสมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องกว่าการเรียนจากคำบอกเล่า หรือท่องจำอย่างเดียว

6. อุปสรรคในการสื่อความหมาย มีอะไรบ้าง

-อุปสรรคในการสื่อสาร

ในกระบวนการสื่อสารนั้น ปริมาณของข่าวสารซึ่งออกจากผู้ส่งจะไปยังผู้รับเต็มจำนวนร้อยเปอร์เซนต์หรือไม่ พบว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วปริมาณของข่าวสารจากผู้ส่งสารจะถ่ายทอดไปถึงผู้รับไม่ครบถ้วน เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ขององค์ประกอบในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสามารถในการเข้ารหัส ผู้ส่งสารอาจขาดความสามารถในการแปลความต้องการของตนให้เป็นสัญญาณ เช่น บางคนมีความคิดแต่ไม่รู้จะถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
2. ความบกพร่องของสื่อและช่องทาง เช่น สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม ตลอดจนความบกพร่องของช่องทางในการรับส่งสัญญาณ เช่น ตาไม่ดี หูไม่ดี เป็นต้น
3. มีสิ่งรบกวนสัญญาณ (Noise) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
3.1 สิ่งรบกวนภายนอก ได้แก่ ความไม่สะดวกทางกายภาพ เช่น ความแออัดของสถานที่ เสียงรบกวนที่ดัง กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
3.2 สิ่งรบกวนภายใน ได้แก่ อุปสรรคที่มาจากภายในตัวของผู้ส่งสารและผู้รับ
สาร เช่น ความเครียด อารมณ์ที่ขุ่นมัว จิตใจเลื่อนลอย เป็นต้น
4. ความสามารถในการถอดรหัสสัญญาณของผู้รับสาร ได้แก่ ข้อจำกัดในการรับสัญญาณและการแปลความหมาย ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
4.1 อุปสรรคทางด้านภาษา (Verbalism) ได้แก่ ความไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อภาษาที่
ใช้ในการสื่อความหมาย
4.2 ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม (Referent Confusion)
4.3 ขีดจำกัดของการรับรู้จากประสาทสัมผัส (Limited Perception)
4.4 สภาพร่างกายที่ไม่พร้อม (Physical Discomfort)
4.5 การไม่ยอมรับ(Inpercerption)
4.6 จินตภาพ (Image) ของข่าวสารไม่ตรงกัน

7. จงยกตัวอย่างแบบจำลองของการสื่อสารมา 1 แบบ

-1. แบบจำลองของลาสแวลล์ (lasswell)
ลาสแวลล์ เป็นนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันได้คิดรูปแบบของการสื่อสาร ออกมาว่า การจะอธิบายระบบการสื่อสารนั้น เราควรจะถามตนเองว่า
Who คือใคร ใครเป็นคนพูด
Say What พูดเรื่องอะไร
In Which Channel ใช้ช่องทางใด
To Whom กับใคร(ผู้รับสาร)
With What Effect ได้ผลอย่างไร

Who
ผู้ส่งสาร
Say What
สาร
In Which Channel สื่อ
To Whom
กับใคร
With What Effect ผล

ผู้ส่งสาร ----- Say What ----- In Which Channel ----- To Whom -----With What Effect ผล
สื่อ สาร กับใคร


ภาพที่ แบบจำลองการสื่อสารของลาสแวลล์
ที่มา (Lasswell , 1948, p. 37)


8. จงเปรียบเทียบองค์ประกอบของการสื่อสาร กับการเรียนการสอน
- องค์ประกอบของการสื่อสาร

องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประกอบด้วย
1. ผู้ส่งสาร (Source) คือ ผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว ความรู้ ความคิด ตลอดจนเหตุการณ์
ต่างๆเพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เช่น ผู้อ่าน ข่าว ครู สถาบันการศึกษา เป็นต้น
2. เรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เพื่อให้ผู้รับรับ
ข้อมูลเหล่านั้น เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น
3. สื่อ (Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ เหตุการณ์ต่างๆที่ผู้
ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้มากก็คือ ภาษาพุด ภาษาเขียน
4. ผู้รับสาร (Receiver ) ได้แก่ ผู้ที่รับเนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งมา ผู้รับ
นี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เมื่อรับเรื่องราวแล้วผู้รับต้องมี การแปลข่าวสารนั้นให้เข้าใจ เหตุการณ์ ส่วน

องค์ประกอบของการเรียนรู้

การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการ (สมศักดิ์ เจียมทะวงษ์. 2519 : 20-26) คือ
1. แรงจูงใจ (Motive) คนเราจะเรียนรู้ได้ดีหากเขามีแรงจูงใจสูงในบทเรียน ที่เขาจะเรียน
เช่น เรื่องนั้นแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น หรือตรงความต้องการของเขา
2. กระบวนการสอน (Teaching procedure) แม้ว่าผู้เรียนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนเพียงใด แต่ถ้ากระบวนการสอนของครูไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพได้
3. กระบวนการเรียน (Studying Procedure) การเรียนรู้ของคนเรานั้น เกิดจากการที่
ประสาทสัมผัส (Sense) ได้รับการเร้าจากสิ่งเร้า (Stimulus) บุคคลจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเร้านั้นได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการเรียนของเขานั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งเร้าโดยตรงมากน้อยเพียงใดด้วย ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้เรียนจากกระบวนการเรียนที่ตนเองได้มีโอกาสสัมผัสมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องกว่าการเรียนจากคำบอกเล่า หรือท่องจำอย่างเดียว


9. จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร การรับรู้ และการเรียนรู้
-การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่มนุษย์ติดต่อถ่ายทอดเรื่องราว แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารโดยผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับอย่างมีวัตถุประสงค์ ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอน ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการการสื่อสารด้วยเช่นกัน
ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บังเกิดประสิทธิภาพ จำเป็นที่ผู้สอนจะต้องนำกระบวนการสื่อสารมาปรับใช้กับกระบวนการเรียนการสอน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของสื่อ และการป้องกันสิ่งรบกวน เป็นต้น


ชื่อ นางสาววรรณิศา ศรีเคลือบ
รหัส 514110012
โปรแกรมวิชา สังคมศึกษา
การสื่อสารและการเรียนรู้

การเรียนรู้ของคนเรามักเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะคือ จากการได้รับการถ่ายทอดจากผู้อื่น และเกิดการรู้ได้ด้วยตนเอง แต่ส่วนใหญ่แล้วการเรียนรู้ของคนเราเกิดจากการได้รับการถ่ายทอดจากผู้อื่น และในการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าว ย่อมต้องอาศัยกระบวนการสื่อสารเป็นสำคัญ
การสื่อสารหรือการสื่อความหมาย ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Communication” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า “Communius” หมายถึง พร้อมกันหรือร่วมกัน (Common) หมายความว่าเมื่อจะมีการสื่อความหมายกัน คนเราจะต้องสร้างความพร้อมกันหรือร่วมกันทั้งด้านภาษา ความคิด เรื่องราวเหตุการณ์ ทัศนคติ ฯลฯ กับบุคคลที่เราต้องการสื่อสารด้วย ดังนั้น การสื่อสารหรือการสื่อความหมาย ก็คือ กระบวนการติดต่อสัมพันธ์กันเพื่อการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรื่องราว ค่านิยม ตลอดจนทักษะต่าง ๆ ซึ่งกันและกันของมนุษย์นั่นเอง นักวิชาการด้านการสื่อสารให้ความหมายของการสื่อสารไว้ต่างๆกัน ดังนี้

ความหมายของการสื่อสาร

ปรมะ สตะเวทิน(2536 : 17) กล่าวว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้ส่งสาร ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับสาร โดยผ่านสื่อ และได้ให้ความหมายว่า การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการของบุคคลซึ่งคนทั้งสองฝ่ายถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือข้อมูล ความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความประทับใจ เป็นต้น จากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งด้วยความต้องการที่จะทำให้ฝ่ายหนึ่งเข้าใจเจตนาและความประสงค์ของตนเองและใช้ประโยชน์จากเนื้อกาของสิ่งเหล่านั้น
กิดานันท์ มลิทอง(2540 : 21) กล่าวว่า การสื่อสาร หมายถึง การถ่ายทอดเรื่องราว การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก ตลอดรวมไปถึงระบบเพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์(2545 : 173) กล่าวว่า การสื่อสารเป็นกระบวนการที่มนุษย์พยายามติดต่อซึ่งกันและกัน มีความเคลื่อนไหวและเป็นพฤติกรรมเพื่อการติดต่อสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในการส่งและรับสารระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารโดยผ่านสื่อต่างๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน
ฟิสค์(Fiske, 1985 : 11) กล่าวว่า การสื่อสาร เป็นการที่บุคคลในสังคมมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันโดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร สัญลักษณ์ และเครื่องหมายต่างๆ
วิลเลียมส์(Williams, 1987 : 11) กล่าวว่า การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่แสดงออกถึงโครงสร้างวัฒนธรรมของมนุษยชาติ วิธีการพื้นฐานที่จะแสดงออกถึงโครงสร้างวัฒนธรรมนั้นก็คือ ด้วยการถ่ายทอด ติดต่อ แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน
สรุปได้ว่า การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่มนุษย์ติดต่อถ่ายทอดเรื่องราว แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารโดยผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับอย่างมีวัตถุประสงค์

องค์ประกอบของการสื่อสาร

องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประกอบด้วย
1. ผู้ส่งสาร (Source) คือ ผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว ความรู้ ความคิด ตลอดจนเหตุการณ์
ต่างๆเพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เช่น ผู้อ่าน ข่าว ครู สถาบันการศึกษา เป็นต้น
2. เรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เพื่อให้ผู้รับรับ
ข้อมูลเหล่านั้น เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น
3. สื่อ (Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ เหตุการณ์ต่างๆที่ผู้
ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้มากก็คือ ภาษาพุด ภาษาเขียน
4. ผู้รับสาร (Receiver ) ได้แก่ ผู้ที่รับเนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งมา ผู้รับ
นี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เมื่อรับเรื่องราวแล้วผู้รับต้องมี การแปลข่าวสารนั้นให้เข้าใจ เหตุการณ์

รูปแบบการสื่อสาร

ในการสื่อสารนั้น เริ่มด้วยผู้ส่งสาร จะเป็นผู้ที่มีความต้องการที่จะส่งข่าวสารไปสู่ผู้รับหรือจุดหมายปลายทาง ในการส่งสารจำเป็นต้องปรับข่าวสารในความคิดของตนออกมาในรูปของภาษาหรือสัญญาณ (Signal) ลักษณะของสัญญาณจะเป็นการผสมผสานระหว่างเนื้อหา หรือเรื่องราวที่ต้องการส่งกับสื่อและช่องทาง
เพื่อให้ผู้รับเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของตน ในการปรับความคิดให้เป็นภาษาหรือสัญญาณ
นี้ ผู้ส่งสารจะต้องใช้วิธีเข้ารหัสสัญญาณ (Encode) และส่งสัญญาณไปสู่ผู้รับสาร การที่ผู้รับสารจะเข้าใจความคิดของผู้ส่งสาร จำเป็นต้องผ่านการถอดรหัสสัญญาณ (Decode) อย่างถูกต้องเสียก่อน จึงจะรับรู้ความคิดของผู้ส่งสารได้ ตัวอย่างเช่น บรรณารักษ์ห้องสมุดไม่ต้องการให้ผู้มาอ่านหนังสือสูบบุหรี่ในห้องสมุด ความต้องการที่จะไม่ให้คนสูบบุหรี่นั้นคือ ข่าวสาร บรรณารักษ์ (ผู้ส่งสาร) จำเป็นต้องหาวิธีสื่อสารไปยังผู้อื่นด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยเข้ารหัสสัญญาณ เช่น การติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ หรือการไปบอกด้วยวาจาโดยตรง เป็นต้น วิธีการต่าง ๆ ที่บรรณารักษ์ติดต่อกับผู้สูบบุหรี่ ก็คือ สัญญาณ และเมื่อผู้สูบบุหรี่หรือผู้รับสารได้รับสัญญาณก็จะต้องทำการถอดรหัสสัญญาณว่า ผู้ส่งต้องการอะไร ถ้าสามารถรับรู้ถึงความคิดหรือความต้องการของผู้ส่งสารได้ก็ถือว่ากระบวนการสื่อความหมายครั้งนี้ประสบผลสำเร็จสมบูรณ์


การถอดรหัส
สัญญาณ
การเข้ารหัส
ผู้รับสาร
ผู้ส่งสาร


ภาพที่ 3.1 แสดงกระบวนการสื่อสาร

การสื่อสารหากเป็นไปในทิศทางเดียว คือผู้ส่งสารทำหน้าที่ส่งสารออกไปเพียงอย่างเดียว และผู้รับสารก็รับและตีความหมายเพียงอย่างเดียว ผู้ส่งสารไม่มีโอกาสได้รับสารจากผู้รับสารเลย ลักษณะเช่นนี้เราเรียกว่าเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว (One-way communication) การสื่อสารแบบนี้อาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะผู้ส่งสารไม่มีโอกาสทราบได้ว่าผู้รับสารของเขาเข้าใจเรื่องราวที่เขาส่งไปนั้นได้หรือไม่ หรือเข้าใจถูกต้องอย่างไร ดังนั้นจึงมีคุณภาพด้อยไปเมื่อเทียบกับการสื่อความหมายแบบสองทาง (Two-way communication) เพราะการสื่อสารแบบนี้ผู้รับสารมีโอกาสแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบให้ผู้ส่งสารได้รับทราบ เช่น โดยการตอบคำถาม ถามคำถาม ทำท่าทาง อากัปกริยา ซึ่งเรียกว่า ปฏิกิริยาย้อนกลับ (Feedback) ซึ่งในกระบวนการสื่อสารนั้นปฏิกิริยาย้อนกลับมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้ผู้ส่งสารทราบว่าผู้รับสารเข้าใจสารที่เขาส่งไปมากน้อยและถูกต้องเพียงไร เพื่อจะได้มีโอกาสแก้ไขปรับปรุงข้อผิดพลาดต่าง ๆ หรือปรับปรุงรหัสและวิธีการสื่อสารเสียใหม่และอาจจะมีส่วนช่วยในการเข้าใจความหมายในสารของเขาแก่ผู้รับสารอีกด้วย

ข้อมูลย้อนกลับ
การเข้ารหัส
สัญญาณ
การถอดรหัส
ผู้ส่งสาร
ผู้รับสาร
การถอดรหัส
สัญญาณ
การเข้ารหัส
ผู้รับสาร
ผู้ส่งสาร

ภาพที่ 3.2 แสดงลักษณะของการสื่อสารแบบ 2 ทาง

แบบจำลองของการสื่อสาร

การที่จะสื่อสารอย่างไร เพื่อให้ผู้รับข่าวสารเข้าใจได้อย่างถูกต้องว่าผู้ส่งหมายความว่าอะไรในข่าวสารนั้น มีนักวิชาการหลายท่านได้คิดรูปแบบจำลองการสื่อสารและการสื่อความหมาย ขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการเรียนการสอน ดังนี้
1. แบบจำลองของลาสแวลล์ (lasswell)
ลาสแวลล์ เป็นนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันได้คิดรูปแบบของการสื่อสาร ออกมาว่า การจะอธิบายระบบการสื่อสารนั้น เราควรจะถามตนเองว่า
Who คือใคร ใครเป็นคนพูด
Say What พูดเรื่องอะไร
In Which Channel ใช้ช่องทางใด
To Whom กับใคร(ผู้รับสาร)
With What Effect ได้ผลอย่างไร

Who
ผู้ส่งสาร
Say What
สาร
In Which Channel สื่อ
To Whom
กับใคร
With What Effect ผล



ภาพที่ แบบจำลองการสื่อสารของลาสแวลล์
ที่มา (Lasswell , 1948, p. 37)

2. แบบจำลองของแชนนัลและวีเวอร์ ( Shannon and Weaver)
แชนนัลและวีเวอร์ ได้คิดรูปแบบจำลองการสื่อสารขึ้นในลักษณะของกระบวนการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรง โดยเห็นว่าองค์ประกอบสำคัญนั้นมี 5 ประการ คือ
2.1 แหล่งข้อมูลข่าวสาร
2.2 เครื่องส่ง
2.3 ช่องทาง
2.4 ผู้รับ
2.5 จุดหมายปลายทาง

ภ าพที่ 3.3 แบบจำลองการสื่อสารของแชนนัลและวีเวอร์
ที่มา(Shannon & Weaver, 1949.p.27)

รูปแบบการสื่อสารของแชนนัลและวีเวอร์ ได้เพิ่มองค์ประกอบใหม่เข้าไปคือแหล่งรบกวน (Noise Source) เขาเห็นว่าการสื่อสารนั้นมักกระทำโดยมีสิ่งรบกวน ดังนั้นปัญหาของการสื่อสารจึงมีอยู่ว่าจะเอาชนะสิ่งรบกวนนั้นได้ดีที่สุดอย่างไร จะส่งข่าวสารที่มากน้อยเพียงใดจึงจะทำให้ผู้รับสร้างสารจากสัญญาณที่รบกวนได้

3. แบบจำลองของเบอร์โล (Berlo)
เบอร์โล ได้คิดแบบจำลองของการสื่อสารขึ้นมา เรียกว่า S M C R Model

ภาพที่ 3.4 แบบจำลองการสื่อสารของเบอร์โล
ที่มา (Berlo, 1960, p.72)

องค์ประกอบของการสื่อสารตามแนวคิดของ เบอร์โล มี 4 ประการ คือ
3.1 Source ( ผู้ส่ง ) ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามรถในการเข้ารหัส (encode) เนื้อหาข่าวสาร มีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับเพื่อผลในการสื่อสาร มีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่จะส่ง และควรมีความสามารถในการปรับระดับของข้อมูลนั้นให้เหมาะสมและง่ายต่อระดับความรู้ของผู้รับ ตลอดจนพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย
3.2 Message ( ข้อมูลข่าวสาร ) เกี่ยวข้องทางด้านเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่งข่าวสาร
3.3 Channel ( ช่องทางในการส่ง ) เป็นการส่งข่าวสารโดยการให้ผู้รับได้รับข้อมูลข่าวสารโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง
3.4 Receiver ( ผู้รับ ) ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถในการถอดรหัส (decode) สาร เป็นผู้มีทัศนคติ ระดับความรู้ และพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรม เช่นเดียวหรือคล้ายคลึงกันกับผู้ส่งจึงจะทำให้การสื่อสารนั้นได้ผล





อุปสรรคในการสื่อสาร

ในกระบวนการสื่อสารนั้น ปริมาณของข่าวสารซึ่งออกจากผู้ส่งจะไปยังผู้รับเต็มจำนวนร้อยเปอร์เซนต์หรือไม่ พบว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วปริมาณของข่าวสารจากผู้ส่งสารจะถ่ายทอดไปถึงผู้รับไม่ครบถ้วน เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ขององค์ประกอบในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสามารถในการเข้ารหัส ผู้ส่งสารอาจขาดความสามารถในการแปลความต้องการของตนให้เป็นสัญญาณ เช่น บางคนมีความคิดแต่ไม่รู้จะถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
2. ความบกพร่องของสื่อและช่องทาง เช่น สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม ตลอดจนความบกพร่องของช่องทางในการรับส่งสัญญาณ เช่น ตาไม่ดี หูไม่ดี เป็นต้น
3. มีสิ่งรบกวนสัญญาณ (Noise) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
3.1 สิ่งรบกวนภายนอก ได้แก่ ความไม่สะดวกทางกายภาพ เช่น ความแออัดของสถานที่ เสียงรบกวนที่ดัง กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
3.2 สิ่งรบกวนภายใน ได้แก่ อุปสรรคที่มาจากภายในตัวของผู้ส่งสารและผู้รับ
สาร เช่น ความเครียด อารมณ์ที่ขุ่นมัว จิตใจเลื่อนลอย เป็นต้น
4. ความสามารถในการถอดรหัสสัญญาณของผู้รับสาร ได้แก่ ข้อจำกัดในการรับสัญญาณและการแปลความหมาย ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
4.1 อุปสรรคทางด้านภาษา (Verbalism) ได้แก่ ความไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อภาษาที่
ใช้ในการสื่อความหมาย
4.2 ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม (Referent Confusion)
4.3 ขีดจำกัดของการรับรู้จากประสาทสัมผัส (Limited Perception)
4.4 สภาพร่างกายที่ไม่พร้อม (Physical Discomfort)
4.5 การไม่ยอมรับ(Inpercerption)
4.6 จินตภาพ (Image) ของข่าวสารไม่ตรงกัน

การสื่อสารกับการเรียนการสอน

การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาที่มนุษย์ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอน ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการ การสื่อสารด้วยเช่นกัน โดยสามารถเปรียบเทียบองค์ประกอบทั้งสองระบบได้ ดังนี้

ตารางที่ 3.1 เปรียบเทียบองค์ประกอบการสื่อสารกับองค์ประกอบการเรียนการสอน

การสื่อสาร
การเรียนการสอน
ผู้ส่งสาร
สาร
สื่อหรือช่องทาง
ผู้รับสาร
ครู (ผู้สอน)
เนื้อหาวิชา
สื่อการเรียนการสอน
นักเรียน (ผู้เรียน)

ในการจัดการเรียนการสอนจำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยกระบวนการ การสื่อสาร เพื่อนำมาปรับใช้กับการเรียนการสอนให้บังเกิดประสิทธิผล ดังนี้
1) ผู้สอนควรใช้กระบวนการสื่อสาร 2 ทางกับผู้เรียน เพื่อที่จะประเมินได้ว่าการ
ถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียนได้รับผลสำเร็จหรือไม่ อย่างไร
2) ผู้สอนควรใช้สื่อการสอนหลาย ๆ ลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน
และควรใช้สื่อการสอนที่เป็นรูปธรรมให้มากที่สุด
3) ควรจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์หลาย ๆ ด้าน ด้วยประสาท
สัมผัสหลาย ๆ ทางให้มากที่สุด
4) ผู้สอนจะต้องมีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาแก่ผู้เรียน เช่น มีทักษะในการ
พูด การเขียน การใช้สื่อ และท่าทางที่ดี
5) จะต้องป้องกันการรบกวน ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการเรียนการสอน
6) ผู้เรียนจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้ (ถอดรหัสสัญญาณ) เช่น ทักษะทางภาษา
ทักษะทางร่างกาย การเพิ่มพูนประสบการณ์ เป็นต้น

การรับรู้

การรับรู้เป็นกระบวนการที่มนุษย์สนใจต่อสิ่งรอบ ๆ ตัว ในการรับรู้จะต้องอาศัยประสาทสัมผัส ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัสโดยในบรรดาประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั้น ได้มีผู้ทำการวิจัย พบว่า มนุษย์เราสามารถรับรู้ได้มากที่สุดคือทางตาประมาณ 75% รองลงมาคือทางหูด้วยการได้ยิน 13% นอกนั้นเป็นการรับรู้ทางกาย จมูก และลิ้น (จันทร์ฉาย เตมิยาคาร. 2533 : 49) ซึ่งประสาทสัมผัสเหล่านี้จะรวบรวมข้อมูลแล้วส่งข้อมูลไปยังระบบประสาท สิ่งที่เราประทับใจจะเปลี่ยนเป็นแรงกระตุ้นและเกิดปฏิกริยาต่อเนื่องในสมอง ซึ่งมีผลทำให้มนุษย์เกิดความสนใจในวัตถุหรือเหตุการณ์นั้น ๆ ในการรับรู้ของคนเรานั้นมีหลักของการรับรู้ที่สำคัญ (อรพรรณ พรสีมา. 2530 : 5) คือ
1. การรับรู้จะต้องอาศัยประสาทสัมผัสหลายทางซึ่งมีการผสมผสานในรูปแบบที่ซับซ้อน
2. บุคคลจะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งหนึ่ง ๆ แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิม และ
สภาพการณ์ปัจจุบันในขณะที่รับรู้สิ่งนั้น ๆ
3. บุคคลจะให้ความหมายต่อสิ่งที่รับรู้แตกต่างกัน แต่มีแนวโน้มสำหรับประสบการณ์
พื้น ๆ หรือประสบการณ์ที่ไม่ซับซ้อนผู้รับรู้สามารถรับรู้ได้คล้ายกัน จึงทำให้การสื่อความหมายเป็นไปได้อย่างถูกต้อง

ความหมายของการเรียนรู้

มาลินี จุฑารพ(2541 : 104) การเรียนรู้ หมายถึง การเรียนรู้เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับมาเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร(Relatively Permanent) อันเป็นผลเนื่องมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง
อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์(2542 : 42) กล่าวถึง การเรียนรู้ หมายถึง การเรียนรู้เป็นกระบวนการการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองบ่อยๆครั้งจนในที่สุดกลายเป็นพฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นอย่างถาวร
ยืน ภู่วรวรรณ และสมชาย นำประเสริฐชัย(2546 : 22) การเรียนรู้ หมายถึง การที่บุคคลมีความต้องการทำความเข้าใจ รับรู้ปัญหา เรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่ได้ประสบมา ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มพูนของทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ และการพัฒนาของบุคคลนั้นๆ เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้จากการทำงานหรือประสบการณ์
ครอนบัค(Cronbach, 1977 : 75) การเรียนรู้ หมายถึง การเรียนรู้เป็นการแสองให้เห็นพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับมา
สรุปได้ว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่เกิดจากการที่บุคคลมีความต้องการรับรู้เรื่องราว ทำความเข้าใจรู้จักกับปัญหา มีประสบการณ์จากการทำบ่อยๆ



องค์ประกอบของการเรียนรู้

การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการ (สมศักดิ์ เจียมทะวงษ์. 2519 : 20-26) คือ
1. แรงจูงใจ (Motive) คนเราจะเรียนรู้ได้ดีหากเขามีแรงจูงใจสูงในบทเรียน ที่เขาจะเรียน
เช่น เรื่องนั้นแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น หรือตรงความต้องการของเขา
2. กระบวนการสอน (Teaching procedure) แม้ว่าผู้เรียนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนเพียงใด แต่ถ้ากระบวนการสอนของครูไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพได้
3. กระบวนการเรียน (Studying Procedure) การเรียนรู้ของคนเรานั้น เกิดจากการที่
ประสาทสัมผัส (Sense) ได้รับการเร้าจากสิ่งเร้า (Stimulus) บุคคลจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเร้านั้นได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการเรียนของเขานั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งเร้าโดยตรงมากน้อยเพียงใดด้วย ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้เรียนจากกระบวนการเรียนที่ตนเองได้มีโอกาสสัมผัสมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องกว่าการเรียนจากคำบอกเล่า หรือท่องจำอย่างเดียว

ลำดับขั้นในกระบวนการเรียนรู้

ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้นประกอบด้วยลำดับขั้นตอนดังนี้
1. ประสบการณ์ (Experiences) การที่เราเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้ เพราะมีการเกี่ยวข้อง
(Interact) กันระหว่างอินทรีย์ (Organism) กับสิ่งแวดล้อม (Environment) โดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ถ้าไม่มีประสาทสัมผัสเหล่านี้จะไม่มีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ ได้เลย ซึ่งเท่ากับว่าไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้ด้วย ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้เรียนได้รับนั้นย่อมแตกต่างกัน บางชนิดเป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์แทน บางอย่างเป็นรูปธรรม บางอย่างเป็นนามธรรมหรือเป็นสัญลักษณ์ การเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่เขาได้รับด้วย
2. ความเข้าใจ (Understanding) หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ลำดับต่อไปก็คือ การตีความหมายหรือเกิดความคิดรวบยอด (Concept) ในประสบการณ์นั้น ซึ่งขบวนการขั้นนี้เกิดขึ้นในสมอง (Brain) หรือจิต (Mind) ของบุคคล ทั้งนี้เพราะการรับรู้ประสบการณ์ ตลอดจนการทรงจำ (Rettain) ประสบการณ์ที่ดีไว้ เป็นขบวนการทางสมอง (Mental Process) ซึ่งเรียกว่าความเข้าใจ ในการเรียนรู้นั้นบุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาพบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ (Organize) วิเคราะห์ (Analyze) และสังเคราะห์ (Synthesis) ความคิดใหม่ ๆ ขึ้นมาจนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
3. ความนึกคิด (Thinking) ถือว่าเป็นลำดับชั้นสุดยอดของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวน
การที่เกิดขึ้นในสมอง ความนึกคิดที่จะนำไปสู้การเรียนรู้ที่ดีนั้นจะต้องเพิ่มความนึกคิดที่สามารถจัดระเบียบ (Organize) ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้ สามารถที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดการบูรณาการการเรียนรู้อย่างแท้จริง

ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้

การเรียนรู้ของบุคคลจะประสบความสำเร็จหรืออาจทำให้ประสบความล้มเหลว มีปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนี้
1. ตัวผู้เรียน(Individual Variables) ลักษณะที่กำหนดระดับการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวผู้เรียน มีดังนี้
1.1 วุฒิภาวะ(Maturity) คือ ระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของผู้เรียนรวมทั้งวุฒิภาวะทางสติปัญญา อารมณ์ และทางสังคม
1.2 อายุ(Age) บุคคลจะมีความสามารถในการเรียนรู้ถึงขีดสูงสุดเมื่อมีอายุประมาณ 20-25 ปี และหลังจาก 35 ปีแล้วผู้เรียนจะมีความสามารถในการใช้เหตุผลดีขึ้น
1.3 เพศ(Sex) เพศชายและเพศหญิงจะมีความสามารถในการเรียนรู้ทัดเทียมกัน แต่ความสนใจในสิ่งต่างๆไม่เหมือนกัน
1.4 ประสบการณ์เดิม(Experience) คือ ความรู้เดิมซึ่งผู้เรียนจะเรียนรู้เรื่องใดได้ดีควรมีความรู้เดิมเป็นพื้นฐานก่อน
1.5 สมรรถวิสัย(Capacity) คือ ขีดความสามารถของบุคคลซึ่งสามารถวัดได้โดยใช้แบบทดสอบเชาวน์หรือความถนัดตามธรรมชาติ
1.6 ความบกพร่องทางกายบางประการ ความบกพร่องทางประสาทสัมผัสจะมีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมาก
2. บทเรียน(Lesson Variables) ในการจัดการเรียนการสอนควรจัดบทเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นหลักก็จะทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จได้มากขึ้น ดังนั้นจึงต้องพิจารณาสิ่งต่อไปนี้ให้รอบคอบ
2.1 ความยาวของบทเรียน ความยาวและความยากง่ายของเนื้อหาที่เรียนและเนื้อหาที่มีความหมายของบทเรียน ย่อมมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้มาก
2.2 สิ่งรบกวนในการเรียนการสอน หากผู้เรียนมีกิจกรรมมากเกินไปหรือเรียนโดยไม่มีเวลาพักผ่อนก็จะเป็นการรบกวนขัดขวางการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง
3. วิธีเรียน(Method Variables) ในการเรียนรู้ของบุคคลนอกจากอิทธิพลอื่นๆแล้วยังมีลักษณะต่างๆที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีได้ เช่น
3.1 การฝึกฝน(Practice) การฝึกฝนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น การฝึกฝนจะให้ผลดีเพียงใดขึ้นอยู่กับความตั้งใจของผู้เรียน
3.2 อัตราของการเรียน(Degree of Learning) ถ้าหากได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติมมากๆก็จะยิ่งช่วยให้จำบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น
3.3 การท่องจำ(Recitation) การเรียนรู้โดยการท่องจำในเนื้อหาที่เหมาะสมจะช่วยให้จำได้ดีและนาน
3.4 การใช้ประสาทรับรู้เข้าช่วยในการเรียน(Sensory Modality) ผู้เรียนบางคนอาจเรียนได้ดีที่สุดด้วยการอ่าน บางคนฟังแล้วจำได้เร็วที่สุด วิธีของแต่ละคนแตกต่างกันประสาทสัมผัสนับว่ามีผลต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมาก
4. สื่อการเรียนและสภาพแวดล้อมอื่นๆ ได้แก่
4.1 สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
4.2 การจัดบรรยากาศในห้องเรียน
4.3 สภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน
4.4 สื่อและสิ่งอำนวยความสะดวก
5. การจูงใจ(Motivation) การจูงใจเป็นการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่มีจุดมุ่งหมายแน่นอน การจูงใจเกิดจากสิ่งดึงดูดใจหรือสิ่งล่อต่างๆที่จะช่วยให้เด็กเกิดความต้องการที่จะเรียนและรักการเรียนได้รับผลสำเร็จ การจูงใจครอบคลุมประเภทของแรงจูงใจ และวิธีสร้างแรงจูงใจให้อยากเรียน รายละเอียดดังนี้
5.1 ประเภทของแรงจูงใจ จำแนกเป็น แรงจูงใจภายใน และแรงจูงใจภายนอก ดังนี้
5.1.1 แรงจูงใจภายใน(Intrinsic Motivation) หมายถึง แรงจูงใจที่เกิดจากภายในตัวบุคคล ซึ่งมีผลต่อการกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งตามความต้องการหรือตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดให้ เช่น ความอยากรู้อยากเห็นทำให้บุคคลได้ค้นคว้าหาข้อมูล ความสนใจทำให้บุคคลได้ไต่ถามสนทนาหรือต้องสังเกต เป็นต้น
5.1.2 แรงจูงใจภายนอก(Extrinsic Motivation) หมายถึง แรงจูงใจที่เกิดจากภายนอกตัวบุคคล ซึ่งมีผลต่อการกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งตามความต้องการหรือตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ แรงจูงใจภายนอกสำคัญ ได้แก่
1) การแข่งขัน ทำให้เกิดการกระตุ้นแสดงพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลพยายามที่จะเอาชนะ
2) บุคลิกภาพ ทำให้บุคคลอยากสื่อสารหรือไม่อยากสื่อสารด้วยโดยเฉพาะผู้เรียน หากผู้สอนมีบุคลิกภาพดีย่อมทำให้ผู้เรียนอยากเรียนกับครูคนนั้น
3) การให้รางวัล การให้รางวัลเป็นการจูงใจทำให้ผู้เรียนตั้งใจเรียน
4) การลงโทษมีผลทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือยับยั้งพฤติกรรมได้
5) การใช้สื่อการสอน เช่น ใช้อุปกรณ์การเรียน จัดกิจกรรม จัดการศึกษานอกสถานที่ ซึ่งจะทำให้จูงใจผู้เรียนได้อย่างดี
6) วิธีการสอนของครูก็เป็นสิ่งจูงใจผู้เรียนชนิดที่จะทำให้ผู้เรียนอยากเรียนหรือไม่อยากเรียน
5.2 วิธีสร้างแรงใจให้อยากเรียน
การสร้างแรงใจจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งความหวังที่จะไปให้ถึงจุดหมายให้จงได้ ทำได้ดังนี้
5.2.1 ใช้เครื่องล่อใจ(Incentives) หมายถึง สิ่งของวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือหรือภาวะแวดล้อมต่างๆที่เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ให้มากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้นกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้และมีความพยายามในการเรียนรู้ เช่น ใช้สื่อการเรียนการสอน การชมเชย การแข่งขัน การให้รางวัล ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายมีความตั้งใจสนใจกับสื่อที่นำมาเสนอ
5.2.2 การตั้งจุดหมาย(Objective) เป็นวิธีการสร้างแรงจูงใจโดยการกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอนในแต่ละครั้ง ว่าต้องการให้เกิดอะไรขึ้นในตัวผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้รับรู้และเข้าใจจะได้ติดตามประเมินว่าตัวเองบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ก็จะได้พยายามเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายให้ได้
5.2.3 การทำให้ตื่นตัว(Arousal) เป็นวิธีการกระตุ้นสมองและกล้ามเนื้อของผู้เรียนให้ตื่นตัวอยู่เสมอ เช่น อาจบอกผู้เรียนว่าคาบนี้มีความสำคัญมากจะมีการทดสอบท้ายคาบ หรือในชั่วโมงนี้จะทำการบันทึกแถบวีดีทัศน์ไว้จะทำให้ผู้เรียนเกิดความตื่นตัวตื่นเต้น การทำให้ผู้เรียนตื่นตัวถ้ามากเกินไปจะทำให้ตื่นเต้นมาก หากทำให้ตื่นเต้นน้อยจะทำให้เกิดความเฉื่อยชาจึงควรให้ตื่นตัวแต่พอดี
5.2.4 การลงโทษ(Punishment) เป็นวิธีการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนมีความมานะใช้ความพยายามมีความตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน แต่ต้องใช้คู่กับการเสริมแรงหรือการให้รางวัลเพราะการลงโทษเป็นเพียงการหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา แต่มิได้ทำให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
5.2.5 การแข่งขัน(Competition) เป็นวิธีการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนพยายามปรับปรุงและพัฒนาให้ตนเองก้าวหน้ายิ่งขึ้นได้อย่างดี
6. การรับรู้(Perception) เมื่อบุคคลได้สัมผัสกับสิ่งเร้าใดก็ตามแล้วจะแปลความหมายจากสิ่งที่สัมผัสทำให้เกิดการรับรู้ขึ้น หรือกล่าวได้ว่ากระบวนการแปลความหมายจากการสัมผัสต่อสิ่งเร้าซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์เดิมด้วย บุคคลจะรับรู้ได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่อไปนี้
6.1 ความสมบูรณ์ของประสาทสัมผัส บุคคลจะรับรู้สิ่งเร้าได้ดี ถ้าบุคคลนั้นมีอวัยวะรับสัมผัสดี
6.2 การแปลความหมาย บุคคลจะรับรู้สิ่งเร้าได้ดีและถูกต้อง ถ้าบุคคลนั้นแปลความหมายได้ถูกต้อง
6.3 ประสบการณ์เดิม บุคคลจะรับรู้สิ่งเร้าได้ดีและถูกต้องถ้าบุคคลมีประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ใหม่
6.4 ความตั้งใจที่จะรับรู้ บุคคลจะรับรู้สิ่งเร้าได้ดีและถูกต้องถ้าบุคคลมีความตั้งใจที่จะรับรู้ในสิ่งเร้านั้น ลักษณะที่สำคัญของสิ่งเร้าจำแนกได้ดังนี้
6.4.1 สิ่งเร้าภายนอก จะมีลักษณะที่จะสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ได้ดี เช่น ความเข็มของสีและแสง ความแปลกใหม่ ความเคลื่อนไหวได้มีขนาดใหญ่มีสีสะดุดตา มีกลิ่น มีการปกปิดให้เป็นเรื่องลึกลับ มีการปิด-เปิด ฯลฯ
6.4.2 สิ่งเร้าภายในที่มีผลต่อการตั้งใจรับรู้มีลักษณะดังนี้
1) ตรงกับความสนใจของบุคคลที่จะรับรู้
2) ตรงกับความต้องการของบุคคลที่จะรับรู้
3) ตรงกับเจตคติของบุคคลที่จะรับรู้
4) มีการเตรียมตัวเตรียมใจที่จะรับรู้
5) มีอารมณ์ร่วมโดยเฉพาะเด็กวัยรุ่น
6.5 วัยของผู้รับรู้ บุคคลที่มีวัยเท่ากันก็จะรับรู้ได้ใกล้เคียงกัน
7. การจำ(Remembering) หมายถึง กระบวนการที่สมองสามารถเก็บสะสมสิ่งที่ได้รับรู้ไว้และสามารถนำออกมาใช้ได้เมื่อมีภาวะจำเป็น การจำสามารถจำแนกได้ 4 ประเภท คือ
7.1 จำได้(Recognition) ได้แก่ การจำในสิ่งที่เคยรับรู้หรือเคยรู้จักมาก่อนจำได้เมื่อพบเห็นอีกที
7.2 ระลึกได้(Recall) ได้แก่ การจำในสิ่งที่เคยรับรู้หรือเคยเรียนรู้มาก่อนโดยมิต้องพบเห็นสิ่งนั้นอีก
7.3 จำแบบเรียนซ้ำ(Relearning) ได้แก่ การจำในสิ่งที่เคยรับรู้หรือเคยเรียนรู้มาก่อนแต่บัดนี้ลืมไปแล้ว เมื่อกลับมาเรียนใหม่ปรากฏว่าเรียนได้เร็วกว่าหรือจำได้เร็วกว่าในอดีต
7.4 ระลึกอดีต(Reintegration) ได้แก่ การจำเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องในอดีตได้ เมื่อพบเห็นเหตุการณ์บางอย่างที่เกี่ยวโยงกันโดยจะระลึกถึงอดีตว่าเคยพบ เคยเห็น เคยฟังในอดีตอย่างไร เป็นต้น
8. การลืม(Forgetting) หมายถึง สภาวะที่บุคคลไม่สามารถจะเก็บสะสมสิ่งที่เรียนรู้แล้วไว้ได้และไม่สามารถระลึกหรือนำออกมาใช้ได้ อาจมีสามเหตุหลายประการ คือ
8.1 กาลเวลาที่เนิ่นนานทำให้บุคคลลืมสิ่งที่เรียนผ่านมาได้
8.2 การไม่ได้นำมาใช้(Disused) นักจิตวิทยามีความเชื่อว่าการลืมเป็นการที่ความจำค่อยๆจางไปเนื่องจากไม่ได้ใช้เป็นเวลานาน ในที่สุดก็ลืมไปโดยสิ้นเชิง เช่น ไม่ได้อ่านตำราบ่อยๆ ก็จะลืมเนื้อหาหรือความรู้ที่เรียนไปแล้ว
8.3 การเลือน(Systematic Distortions) เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของเนื้อเยื่อในสมองทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่จำเสื่อมสภาพลง
8.4 การขัดขวาง(Retroactive) เมื่อบุคคลเรียนรู้สิ่งใดไปแล้วเมื่อมีกิจกรรมอื่นเข้ามาขัดขวางหรือรบกวนจะทำให้เกิดการลืมได้ เช่น ขณะกำลังคิดและเตรียมจะพูดอยู่นั้นมีใครมาทักทายสิ่งที่เตรียมไว้จะพูดก็ลืมไป
8.5 การจงใจให้ลืม(Motivated Forgetting) เมื่อบุคคลได้เรียนรู้หรือได้รับรู้บางสิ่งบางอย่างไปแล้ว แต่เป็นประสบการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาทำให้เกิดความรู้สึกอยากลืมหรือจงใจให้ลืมเรื่องนั้นๆ
8.6 สิ่งนั้นไม่มีความหมาย(Meaningless) กิจกรรมหรือประสบการณ์ใดก็ตาม ถ้ามิได้จัดเป็นสิ่งเร้าที่มีระเบียบแบบแผนมีความหมายต่อบุคคลแล้วบุคคลอาจจะลืมสิ่งเร้าเหล่านั้น
9. การถ่ายโยงการเรียนรู้(Tranfer of Learning) การถ่ายโยงการเรียนรู้จะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของบุคคล เนื่องจากว่าบุคคลต้องนำความรู้เดิมมาสัมพันธ์กับความรู้ใหม่ได้ จึงจะช่วยให้สามารถเรียนรู้บทเรียนใหม่ได้รวดเร็วขึ้น กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่าเป็นการนำความรู้จากสถานการณ์หนึ่งไปใช้ให้เกิดผลกับอีกสถานการณ์เป็นการเตรียมให้ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่เรียนไปใช้ประโยชน์ในอนาคตเพื่อการประกอบอาชีพและแก้ปัญหาต่างๆ ฉะนั้นครูจึงควรจัดการเรียนการสอนให้มีลักษณะดังต่อไปนี้
9.1 ครูผู้สอนได้ชี้แนะให้ผู้เรียนได้ทราบถึงสิ่งที่เรียน เพื่อที่จะนำไปใช้ในอนาคตและให้มีโอกาสได้ฝึกหัดจนจำได้
9.2 สอนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย หรือให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้ที่มีอยู่ในโครงสร้างปัญญา
9.3 ให้สอนในสิ่งที่นำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง เช่น ต้องการให้ถ่ายภาพได้เมื่อจบการศึกษาไปแล้ว ก็ควรมีการสอนถ่ายภาพและปฏิบัติงานกันจริงๆในขณะเรียน
9.4 ให้สอนกลักการ วิธีการดำเนินการ ทักษะ และวิธีแก้ปัญหาที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่
9.5 จัดสภาพการณ์หรือจำลองสถานการณ์ในการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมให้เหมือนหรือคล้ายคลึงกับผู้เรียนจะไปประสบภายหลังจบการศึกษาแล้ว
9.6 ควรจัดให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดปฏิบัติงานก่อนที่จะจบออกไปทำงานจริงๆ
9.7 เมื่อทำการสอนเกี่ยวกับหลักการหรือความคิดรวบยอด ควรจะให้โอกาสผู้เรียนได้เห็นตัวอย่างหลายๆอย่าง

บทสรุป

การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่มนุษย์ติดต่อถ่ายทอดเรื่องราว แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารโดยผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับอย่างมีวัตถุประสงค์ ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอน ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการการสื่อสารด้วยเช่นกัน
ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บังเกิดประสิทธิภาพ จำเป็นที่ผู้สอนจะต้องนำกระบวนการสื่อสารมาปรับใช้กับกระบวนการเรียนการสอน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของสื่อ และการป้องกันสิ่งรบกวน เป็นต้น









วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แบบฝึกหัด

ชื่อ นางสาววรรณิศา ศรีเคลือบ
รหัส 514110012
โปรแกรมวิชา สังคมศึกษา


1.ระบบ (System) หมายถึง การรวมกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้
วิธีระบบ (System Approach) การตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์กันในการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน
2.ระบบโดยทั่วไป จะมีองค์ประกอบดังนี้1.สิ่งนำเข้า (Input) ได้แก่ การกำหนดปัญหา จุดมุ่งหมายทรัพยากรที่ใช้ 2.กระบวนการ (Process) ได้แก่การลงมือแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล การนำวัตถุดิบมาใช้ มาจัดกระทำอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย 3. ผลผลิต (Output) คือผลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือสรุปการวิเคราะห์เพื่อประเมินต่อไป 4. ผลย้อนกลับ (Feedback) คือการตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไป
3.เป็นการนำเอารูปแบบของระบบมาใช้ในการจัดทำโครงร่าง และกรอบของการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเรียนการสอน เป็นไปอย่างมีขั้นตอนที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทำให้ผลที่ได้เกิดประสิทธิผลตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการตามแผนภาพที่แสดงให้เห็น การกำหนดระบบการสอน
4.เป็นวิธีระบบรูปแบบหนึ่งที่นำมาจากแนวคิดของไชน์พิชและคณะ (1993) โดยมีระบบการดำเนินงานตามลำดับขั้นดังนี้A = ANALYZE LEARNER'S CHARACTERISTICS การวิเคราะห์ผู้เรียน ที่สำคัญได้แก่ การวิเคราะห์พฤติกรรมเบื้องต้น และความต้องการของผู้เรียน ทั้งในด้าน 1. ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา เจตคติ ระบบสังคม วัฒนธรรม 2. ข้อมูลเฉพาะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอน เช่น ประสบการณ์เดิม ทักษะ เจตคติ ความรู้พื้นฐาน และความสามารถในบทเรียนนั้นเพียงใด
S = STATE LEARNING OBJECTIVES AND CONTENT การกำหนดจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายการเรียนที่ดี
S = SELECT, MODIFY OR DESIGN MOTHODS AND MATERIALS การกำหนดสื่อการเรียนการสอน อาจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประการดังนี้ คือ 1) การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน 2) ดัดแปลงจากสื่อวัสดุที่มีอยู่แล้ว 3) การออกแบบสื่อใหม่
U = UTILIZE METHODS AND MATERIALS กิจกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอน พิจารณาได้ 3 ลักษณะคือ 1) การใช้สื่อประกอบการสอนของผู้สอน เช่น ประกอบคำบรรยาย และอธิบาย 2) การใช้สื่อเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน เช่น ชุดการสอน บทเรียนด้วยตนเอง 3) การใช้สื่อร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น เกม สถานการณ์จำลอง และการสาธิต การมีส่วนร่วมของผู้เรียน
R = REQUIRE LEARNER'S RESPONSE การกำหนดพฤติกรรมตอบสนองของผู้เรียน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดนั้น ผู้เรียนจะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองและมีการเสริมแรง สำหรับการพฤติกรรมการตอบสนองที่ถูกต้องอยู่เสมอ
E = EVALUATION การประเมินผล ควรพิจารณาทั้ง 3 ด้านคือ 1) การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) การประเมินสื่อและวิธีใช้ 3) การประเมินกระบวนการเรียนการสอน
5.1) การใช้สื่อประกอบการสอนของผู้สอน เช่น ประกอบคำบรรยาย และอธิบาย 2) การใช้สื่อเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน เช่น ชุดการสอน บทเรียนด้วยตนเอง 3) การใช้สื่อร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น เกม สถานการณ์จำลอง และการสาธิต การมีส่วนร่วมของผู้เรียน การใช้สื่อการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมหรือได้ลงมือกระทำร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้มากที่สุด
6.การออกแบบจึงช่วยให้ได้แผนงานหรือรูปแบบการดำเนินงาน ด้วยความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงาน การออกแบบการสอน เป็นการวางแผนการสอนโดยใช้วิธีระบบจุดเริ่ม ของการออกแบบการสอน ก็คือ การพิจารณาองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบและพิจารณาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนการสอน ดังนั้น การออกแบบระบบการสอนจึงต้องพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ด้วยการตอบคำถามสำคัญ 4 ประการ ดังนี้ 1. โปรแกรมการสอนนี้ จะออกแบบสำหรับใคร (คำตอบก็คือ ผู้เรียน ดังนั้น ขั้นแรกจึงต้องศึกษา คุณลักษณะของผู้เรียน) 2. ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไร หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง (คำตอบก็คือจุดมุ่งหมายการเรียน) 3. เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนนั้นจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร (คำตอบก็คือต้องคิดหาวิธีสอน สื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน ฯลฯ) 4. จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ หรือเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด (คำตอบก็คือ ต้องคิดหาวิธีประเมินผลการเรียนการสอน)
7.ในการเรียนทุกๆครั้งจะต้องกำหนดตัวเองให้ได้ว่า ต้องอ่านหนังสือก่อนมาเรียนทุกครั้ง แล้วเวลาเข้าเรียนก็ต้องตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอน กลับไปบ้านก็ต้องอ่านหนังสือทบทวนอีกรอบ แล้วจะได้ทำข้อสอบได้และเข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียนไปอย่างแท้จริง